วันจันทร์, 14 ตุลาคม 2024

รูปแบบการจัดการเรียนการสอนหองเรียนอัจฉริยะ สำหรับโรงเรียนที่ขาดแคลนครู

19 พ.ค. 2022
596

ผู้เขียน : เยาวทิวา นามคุณ วิยดา เหลมตระกูล ชนันกาญจน สุวรรณเรือง เบญจมาศ พุทธมา
วารสารศึกษาศาสตรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร วิทยาเขตปตตานี ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน หน้า 108-122
คำสำคัญ : ห้องเรียนอัจฉริยะ นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ เทคโนโลยีการศึกษา โรงเรียนขาดแคลนครู

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการห้องเรียนอัจฉริยะและความต้องการของครูผู้สอนในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนห้องเรียนอัจฉริยะ และ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนห้องเรียนอัจฉริยะ สำหรับโรงเรียนที่ขาดแคลนครู ประชากรได้แก่ ผู้บริหารและครู โรงเรียนเป้าหมายจำนวน 11 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างในการทดลองรูปแบบฯ ได้แก่ ผู้บริหาร ครู และนักเรียน จำนวน 1 โรงเรียน ได้มาแบบอาสาสมัคร เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบบันทึกเอกสาร แบบประเมินและแบบสอบถามจำนวนทั้งหมด 11 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคะแนนการเปลี่ยนแปลงสัมพัทธ์ ผลการวิจัย 1) สภาพการจัดการห้องเรียนอัจฉริยะพบว่า ครูมีประสบการณ์ในการสอนห้องเรียนอัจฉริยะอยู่ในช่วง 1-3 ปี แต่ขาดการอบรมและพัฒนาความรู้ด้านการจัดการเรียนการสอนห้องเรียนอัจฉริยะอย่างต่อเนื่องและไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้านเทคโนโลยีห้องเรียนอัจฉริยะได้ จึงขาดความมั่นใจในการใช้ห้องเรียนอัจฉริยะ ผลการศึกษาความต้องการ พบว่า ครูผู้สอนและโรงเรียนต้องการผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำปรึกษาและความรู้ในการแก้ไขปัญหาการใช้เทคโนโลยี และต้องการขยายการสอนด้วยห้องเรียนอัจฉริยะให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในทุกระดับชั้น 2) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนห้องเรียนอัจฉริยะ สำหรับโรงเรียนที่ขาดแคลนครู มี 6 องค์ประกอบ โดยมีรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนการสอนห้องเรียนอัจฉริยะ (SMART Control) เป็นรูปแบบย่อยมี 6 องค์ประกอบ 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบ ฯ พบว่า ผู้สอนสามารถออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้และดำเนินการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ได้ในระดับมากที่สุด ผู้สอนและผู้เรียนกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนการเปลี่ยนแปลงสัมพัทธ์สูงกว่าร้อยละ 25 และมีคะแนนความพึงพอใจในภาพรวมต่อรูปแบบฯ อยู่ในระดับมาก


Related posts
การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกิจกรรมเชิงสุนทรียะโดยการมีส่วนสำหรับผู้สูงอายุเทศบาลตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการยังชีพกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ บ้านแม่ส้าน อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
The Development of ICT Literacy Using E – Learning as a Tool : ASEAN Cyber University Certificate Course as a Case Study
กระบวนการพัฒนาครูแบบหนุนนำต่อเนื่องเพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในจังหวัดลำปาง
ผลการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การพัฒนาสมรรถนะการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการศึกษาของครูผู้สอน โดยใช้เทคนิคการเสริมพลังอำนาจ